งาน Maison&Objet: ผนึกพลังกับปารีส ดีไซน์ วีค

OLED TECHNIQUE: When furniture
becomes the light source


1. ภายใน Leonardo Glass Cube ที่ Bad Driburg มีการติดตั้ง Erco Lightcase สปอตไลท์ติดผนัง เพื่อให้แสงสว่าง ภาพ: Leonardo
1. Inside Leonardo Glass Cube in Bad Driburg there is an array of Erco Lightcast wall floodlight lenses providing uniform illumination. Photo: Leonardo

ตั้งแต่งานแสดงสินค้า Light & Building ที่เพิ่งผ่านไป อุปกรณ์อินทรีย์เปล่งแสง หรือ OLED (Organic Light Emitting Diodes) ได้กลายเป็นประเด็นร้อนที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงเสมอเมื่อกล่าวถึงเรื่องนวัตกรรมให้แสงสว่าง เช่นเดียวกันกับที่งาน Interzum ครั้งล่าสุด ผู้ชำนาญการมากมายระบุเป็นเสียงเดียวกันว่า ผลที่เกิดจากเทคโนโลยีใหม่ชนิดนี้จะทำให้ขอบเขตในปัจจุบันของธุรกิจอุปกรณ์ให้แสงสว่างไปได้ไกลกว่าเดิม พวกเขาคาดการณ์กันว่า OLED จะปฏิวัติการออกแบบเฟอร์นิเจอร์และการตกแต่งภายในอาคารแบบครบวงจร

เทคโนโลยีใหม่นี้ได้รับความสนใจจากนักออกแบบและผู้ผลิตอุปกรณ์ให้แสงสว่างเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม Philips ถือว่า OLED เป็นวัตถุดิบในการผลิตอุปกรณ์ให้แสงสว่างมากกว่าเป็นอุปกรณ์ให้แสงสว่างในตัวเอง ซึ่งถือเป็นการส่งสารโดยตรงไปยังกลุ่มธุรกิจและกลุ่มที่สนใจที่ไม่ได้เป็นเพียงแค่ผู้รับธรรมดาๆ เช่น สถาปนิกและนักออกแบบผลิตภัณฑ์ ขณะนี้ Philips เองก็ทำงานร่วมกับนักออกแบบเฟอร์นิเจอร์ และทดลองเชื่อมเทคโนโลยี OLED กับผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งนี่เองที่เผยคุณประโยชน์ของเทคโนโลยี OLED โดยเปิดตัวความเป็นไปได้ในด้านการออกแบบใหม่ๆ Dietmar Thomas จาก Philips Business Lightning Center กล่าวว่า “OLED มีความหนาเพียง 1.8 มม. และยังง่ายต่อการใช้งานร่วมกับโครงสร้างหลากหลายแบบ แสงสว่างที่ปรากฏออกมาจะกระจายตัวและส่องสว่างอย่างเป็นอิสระจากพื้นผิวทุกส่วน และเป็นแสงสีตามที่ต้องการอย่างแท้จริงๆ และคุณสมบุติที่เที่ยงตรงนี้ที่ดึงความสนใจของบรรดานักออกแบบเฟอร์นิเจอร์ จนแทบไม่ต้องพูดอะไรเลย ซึ่งเราสามารถเห็นถึงศักยภาพที่พัฒนาต่อได้อีกมากสำหรับเทคโนโลยีให้แสงสว่างล่าสุดนี้”

นี่เป็นครั้งแรกที่การจัดแสงไฟและการผลิตเฟอร์นิเจอร์จะถูกจับคู่กัน ตัวอย่างเช่น การผลิตตู้ครัว พื้นโต๊ะ และแผงหน้าที่เปล่งแสงออกมาด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องซ่อนอุปกรณ์ไฟที่เทอะทะไว้ข้างใต้ตู้เก็บของในระดับสายตา อีกทางเลือกหนึ่งก็คือเก้าอี้อาร์มแชร์และโซฟาที่ไม่เพียงเป็นที่นั่งเท่านั้น แต่ยังมีแสงไฟเปล่งประกายออกมาได้โดยไม่ต้องเฝ้าฝันถึงอีกต่อไป อีกหนึ่งสิ่งที่น่าจะเป็นไปได้ก็คือ OLED โปร่งแสงภายในกำแพงหรือผนังกั้น เมื่อเปิดสวิตช์ ผนัง OLED จะไม่เพียงให้แสงสว่าง แต่ยังทำให้กลายเป็นจอทึบแสงสำหรับการประชุมที่เป็นความลับ ในทางตรงกันข้าม เมื่อปิดสวิตช์ก็จะกลายเป็นผนังโปร่งแสงที่ให้ความรู้สึกโล่งโปร่งสบาย



2. Küpperbusch
ใส่ LED ขนาดเล็กไว้ระหว่างแผ่นกระจกของ KD 9980.0 ทำให้กลายเป็นมากกว่าเครื่องดูดควันธรรมดา นอกจากนี้ยังรับกระแสไฟฟ้าด้วยแผงวงจรที่มีลวดลาย โปร่งแสง ทำให้ดูเหมือนลอยอยู่ในอากาศ ภาพ: Küpperbusch
Much more than a mere extraction hood:
2. Küpperbusch integrated an array of small LEDs between glass sheets in das the KD 9980.0. They receive electrical current
via transparent printed circuit boards and appear to swim unsupported. Photo: Küppersbusch

3. ผนังที่ตกแต่งเป็นชั้นๆ นั้นมีประโยชน์สูงและใช้งานได้หลากหลายแบบ แสงแบ็กไลท์ช่วยสร้างบรรยากาศที่ให้ความรู้สึกสบายนี้มากจาก Dekodur ภาพ: Dekodur
3. Decorative laminar panels are highly versatile and have many applications. These from Dekodur are backlit to create a pleasant atmosphere. Photo: Dekodur

Ever since the recent Light & Building trade fair, the subject of Organic Light Emitting Diodes (OLED) has been a hot topic whenever the subject of innovative lighting came up. Likewise, at the recent Interzum, numerous experts stated that the effects of this new technology will reach far beyond the current boundaries of the lighting business.
They predict it will revolutionise furniture design and building interior completion.

There is enormous interest from lighting designers and manufacturers in the new technology. However, since Philips regards OLEDs as a lighting material rather than an end-product in its own right, it directs the new technology message to businesses and interest groups who would not normally be the recipients, such as architects and product designers. Philips is now working regularly with furniture designers and trying out OLEDs in conjunction with different types of product. This is how the advantages of OLED technology are revealed, by opening a range of novel design possibilities. Says Dietmar Thomas from Phillips Business Lightning Center: “OLEDs are just 1.8 mm thick and are thus easily integrated into many structures. The emerging light is always diffuse and dazzle-free from the entire surface, in virtually any colour you want. It is precisely these properties that are of interest to the furniture designer. It goes almost without saying, that we see enormous potential for this new lighting technology.”

For the first time it has become possible to mix and match lighting design and furniture manufacture. For example, it is possible to manufacture kitchen cabinets, worktops and fronts that emit their own light. No more need for clumsy light fittings concealed by strips beneath eye-level cupboards. Another option is an armchair or a chair that not only provides a seat, but also light; no longer utopia. Another possibility would be transparent OLEDs within cupboard walls or partitions. When switched on, an OLED partition not only gives light but also serves as a
non-transparent screen for confidential meetings. By contrast, when switched off the transparent partition gives an impression of air and ventilated space.

Comments